จุดประสงค์การสอน
9.1 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์
9.2 อธิบายการวางแผนกำลังคน
9.3 เข้าใจการสรรหาบุคคล
9.4 อธิบายการคัดเลือกบุคคล
9.5 อธิบายการบรรจุบุคคลเข้าทำงาน
ความสำคัญของ “ทรัพยากรมนุษย์ ” ในองค์การและความจำเป็นในการจัดหาบุคลากรเข้าทำงาน
ในการบริหารงานขององค์การนั้น ความมุ่งหมายหลักคือ การต้องการให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอีกทั้งพัฒนาให้ก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอ ซึ่งทรัพยากรพื้นฐานที่สำคัญของการบริหารคือ ทรัพยากรมนุษย์ เงินทุน และวัสดุอุปกรณ์
การจัดหาบุคลากรเข้าทำงานในองค์การ จึงเป็นกระบวนการหนึ่งของนักบริหารที่ต้องดำเนินการต่อจากการวางแผนและการจัดองค์การ กล่าวคือ เมื่อได้มีการวางแผนงาน จัดแบ่งงานและกำหนดโครงสร้างขององค์การแล้ว นักบริหารก็จะต้องทำการจัดหาคนเข้าทำงานตามตำแหน่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม (Put the right man on the right job) “ การจัดหาบุคลากรเข้าทำงาน”
(Staffing) จึงครอบคลุมถึงภารกิจที่เกี่ยวข้องกันเป็นกระบวนการดังต่อไปนี้
- การวางแผนกำลังคน
- การสรรหาบุคคล
- การคัดเลือกบุคคล
- การบรรจุแต่งตั้ง
- การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล
- การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน
การวางแผนกำลังคน (Human Resource Planning)
หมายถึง การคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการทรัพยากรบุคคลขององค์การทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพ
วัตถุประสงค์หลักของการวางแผนกำลังคน คือ
- เพื่อให้มีทรัพยากรบุคคลทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ สมดุลย์กับปริมาณงานที่ต้องทำในอนาคต
- เพื่อตอบสนองต่อความต้องการต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
- เพื่อใช้ข้อมูลที่ได้จากการวางแผนกำลังคน เป็นประโยชน์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ลักษณะสำคัญของการวางแผนกำลังคน
- เป็นงานขั้นแรกของการจัดหาบุคลากร ก่อนที่จะดำเนินการรับคนเข้าทำงาน
- เป็นงานที่ผู้บริหารต้องทำ การวิเคราะห์ปริมาณงาน เพื่อคาดคะเนถึงจำนวนงานที่ต้องทำในอนาคต แล้วแปลออกมาเป็นปริมาณคนที่ต้องการ
- การวิเคราะห์งาน (Job Analysis) ซึ่งหมายถึง การศึกษาข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับงานในตำแหน่งหน้าที่ทุกตำแหน่งในองค์การ โดยศึกษาว่าแต่ละงานมีลักษณะการทำงานหรือกระบวนวิธีการทำงานอย่างไรบ้าง มีขอบเขตความรับผิดชอบแค่ไหน ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้างในการทำงานนั้นรวมถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน และคุณสมบัติด้านต่าง ๆ ของบุคคลที่เหมาะสมจะทำงาน
- คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) เป็นเอกสารที่อธิบายถึงหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการทำงาน และลักษณะงานของงานแต่ละตำแหน่ง
- คำบรรยายคุณสมบัติของบุคคลที่จำเป็นสำหรับงาน (Job Specification) เป็นเอกสารระบุถึงลักษณะส่วนบุคคลที่จำเป็นต้องมีสำหรับการที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพของงานแต่ละตำแหน่ง ซึ่งจะมีรายละเอียดในเรื่องของ เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ ความสนใจ
การสรรหาบุคคล (Recruitment)
การพิจารณาสรรหาบุคคลนั้นมีหลักในการดำเนินงานดังนี้
- วางแผนสรรหา
- กำหนดกลยุทธ์ในการสรรหา
- การสรรหาบุคคลจากแหล่งภายใน (Internal Source)
- การสรรหาบุคคลจากแหล่งภายนอก (External Source)
การสรรหาบุคคลจากแหล่งภายใน
ข้อดี
- ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย\
- เป็นการบำรุงขวัญพนักงาน ทำให้พนักงานเกิดความ
จงรักภักดีและตั้งใจทำงานมากขึ้น
ความจงรักภักดีและ ตั้งใจทำงานมากขึ้น
ข้อเสีย
- ทำให้ได้คนที่มีทัศนคติแคบ ขาดความคิดริเริ่มใหม่ ๆ เนื่องจากใช้เฉพาะพนักงานที่มีอยู่ภายใน
- โอกาสเลือกคนมีอยู่จำกัดและอาจจะเกิดปัญหาการขาดแคลนกำลังคน
การสรรหาบุคคลจากแหล่งภายนอก
ข้อดี - มีโอกาสเลือกคนได้กว้างขึ้นและอาจได้คนจากสถาบันต่าง ๆ กันทำให้ได้ความคิดเห็นแปลกๆ ใหม่ ๆ มาช่วยให้การทำงานขององค์การก้าวหน้า
- ไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนกำลังคน
ข้อเสีย - เป็นการสิ้นเปลืองเวลา และค่าใช้จ่าย
- ทำให้ขวัญ และกำลังใจของพนักงานเก่าเสีย เพราะไปตัดโอกาสความก้าวหน้าของพนักงานเหล่านั้น
หลักการในการสรรหาบุคคล - จัดกระบวนการสรรหาให้ได้ผู้สมัครที่เป็นทั้งคนดี และคนเก่าอย่างแท้จริง
- การเลือกแนวทางในการสรรหาจากแหล่งภายนอก ควรพิจารณาตลาดแรงงานที่เป็นอยู่ในขณะนั้นประกอบด้วย
- การพิจารณาทัศนคติ (Attitude)
การคัดเลือกบุคคล (Selection)
ความมุ่งหมายของการเลือกบุคคลขององค์การทุกแห่ง คือ มุ่งหวังจะให้ได้บุคคลที่มีความสมบูรณ์ทั้งในด้านสมอง ร่างกายและจิตใจเข้ามาทำงานให้กับองค์การ กล่าวคือ - ในด้านสมอง
- ในด้านร่างกาย
- ในด้านจิตใจ
หลักในการเลือกบุคคล - การคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งมีลักษณะงานต่างกันควรใช้วิธีการที่ไม่เหมือนกัน โดยคำนึง ถึงลักษณะของงาน และสภาพการทำงานประกอบไปด้วย
- ผู้ทำการคัดเลือกบุคคลจะต้องมีเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ
- การคัดเลือกบุคคลเพื่อให้ตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นควรใช้เครื่องมือหลาย ๆ อย่างประกอบ
- พึงระลึกเสมอว่า นักบริหารไม่ควรตัดสินใจรับหรือไม่รับบุคคลเข้าทำงานโดยพิจารณาเพียง “คะแนน ”
- เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบคุณสมบัติต่าง ๆ ของบุคคลควรจะมีประสิทธิภาพเชื่อถือได้ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารระดับสูงให้การเห็นชอบยอมรับด้วย
กระบวนการคัดเลือกบุคคล (Selection Process)
Preliminary Screening
เป็นการคัดเลือกเบื้องต้นซึ่งกระทำหลังจากมีผู้สมัครมาสมัครงานตามที่ประกาศสรรหาแล้วนิยมใช้การสัมภาษณ์สั้น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติของบุคคลว่าเหมาะสมหรือถูกต้องตรงตาม Job Specification - Application Blank การกรอกใบสมัครงาน
- Selection Tests การทดสอบเพื่อคัดเลือกผู้สมัคร
- Employment Interview การสอบสัมภาษณ์
- Background Investigation การสอบประวัติผู้สมัครเมื่อผู้สมัครผ่านขั้นตอนการทดสอบต่าง ๆ มาได้ผลเป็นที่น่าพอใจแล้ว
- Physical Examination การตรวจสุขภาพผู้สมัครเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญ
- Final Selection การกลั่นกรองขั้นสุดท้ายเป็นการคัดเลือกเพื่อบรรจุเข้าทำงาน
การบรรจุบุคคลเข้าทำงาน (Placement)
การปฐมนิเทศ (Orientation) เป็นการชี้แจงแนะให้พนักงานใหม่ได้รู้จักองค์การ ผู้บริหาร นโยบาย วิธีการ ดำเนินงาน ระเบียบวินัยเงื่อนไขการจ้างงาน สิทธิและผลประโยชน์ต่าง ๆ
การทดลองงาน (Probation) หลังจากที่องค์การตัดสินใจรับบุคคลเข้าทำงานโดยพิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมตามที่กำหนดไว้ แต่ก็ยังมิได้เป็นหลักประกันอะไรให้มั่นใจว่าองค์การได้เลือกคนอย่างถูกต้องแม่นยำแล้ว ถ้าหากว่ามีความประพฤติดีและมีความสามารถที่จะทำงานได้อย่างเหมาะสมก็บรรจุให้เป็นการถาวรต่อไปแต่ถ้าไม่เหมาะสมก็อาจโยกย้ายให้ไปทำงานอื่น หรืออาจให้ออกจากงานไปในระยะเวลาทดลองงานอาจจะเป็น 3 เดือน หรือ 6 เดือน
การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล (Personnel Training and Development)
การฝึกอบรมและการพัฒนาบุคคล คือ กิจกรรมที่เสริมสร้างให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ (Learning) เพื่อปรับปรุงและเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ทักษะหรือความชำนาญ และทัศนคติอันเหมาะสมจนสามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม
“การฝึกอบรม ” และ “ การพัฒนาบุคคล ” มีลักษณะที่แตกต่างกันอยู่บ้างโดยพิจารณาจากสิ่งที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมทั้งสองได้ ดังแสดงให้เห็นในตารางข้างล่างนี้
สิ่งที่เกิดขึ้น การฝึกอบรม การพัฒนาบุคคล
ทำกับใคร บุคลากรระดับปฏิบัติการ บุคลากรระดับผู้บริหาร
เรื่องอะไร เทคนิคที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ทฤษฎี , แนวความคิด , หลักการบริหาร
ทำทำไม เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานเฉพาะอย่างใด อย่างหนึ่งได้ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ทั่ว ๆ ไป
ทำในระยะเวลาเท่าใด ใช้เวลาสั้น ๆ ใช้เวลานาน
การฝึกอบรม (Training) เป็นการเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้สำหรับบุคลากรระดับปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งได้ดีมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์
การพัฒนาบุคคล (Personnel Development) มุ่งเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ในเรื่องทั่ว ๆ ไป เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงาน และความรู้สึกนึกคิดหรือทัศนคติของบุคลากรให้ก้าวหน้าทันสมัย
ความจำเป็นที่องค์การต้องจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล
- เมื่อองค์การรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน
- องค์การทุกแห่งต้องปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาเพื่อความเข็มแข็งและอยู่รอดขององค์การเอง
- นอกจากองค์การจะต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดได้แล้ว องค์การยังต้องมีการเจริญเติบโต มีการขยาย การผลิตการตลาด และขยายงานต่าง ๆ ออกไปให้ก้าวหน้ามั่นคงยิ่ง ๆ ขึ้น
ลำดับขั้นการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล - วิเคราะห์ความต้องการในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล
- กำหนดวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมและพัฒนาให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการจัดฝึกอบรม
- วางโครงการในการฝึกอบรมและพัฒนา (Design Training Program) คือ การวางแผนงานสำหรับการจัดฝึกอบรมโดยคำนึงถึงลักษณะและประเภทการฝึกอบรมที่จะวัดผู้เข้ารับการฝึกอบรม หลักสูตร / หัวข้อวิชา สถานที่ วิทยากร ระยะเวลา อุปกรณ์เครื่องใช้ เทคนิควิธีการ งบประมาณ กำลังเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
- เสนอโครงการเพื่อรับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูง
- ดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหาร
- การประเมินผลและติดตามผล (Evaluation and Follow – up) เป็นการตรวจสอบดูว่าการฝึกอบรมที่จัดขึ้นนั้นบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่หากมีอุปสรรคใดจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขการฝึกอบรมในคราวต่อไป
เทคนิคการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคล - การบรรยาย (Lecture)
- การประชุมอภิปราย (Conference)
- การศึกษากรณีตัวอย่าง (Case Study)
- การสาธิต (Demonstration)
- ทัศนศึกษา (Field Trip)
- การสัมมนา (Seminar)
- การสอนงาน (Coaching)
- เกมส์การบริหาร (Management Games)
- การหมุนเวียนงาน (Job Rotation)
- การพัฒนาตนเอง (Self – improvement Program)
การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
การประเมินผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กระบวนวิธีที่ใช้ประเมินค่าว่าผู้ปฏิบัติงาน แต่ละคนมีความสามารถปฏิบัติงานได้อยู่ในระดับใด โดยเปรียบเทียบผลการทำงานของบุคคลผู้นั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพกับเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน
ประโยชน์
- นำผลการประเมินมาใช้ประกอบการพิจารณาความดีความชอบ
- เป็นข้อมูลในการพิจารณาแนวทางในการจัดโครงการฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถภาพของบุคลากรได้อย่างเหมาะสม
- ใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย หรือให้ออก
- เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพนักงานมากยิ่งขึ้น
- เป็นข้อมูลย้อนกลับไปสู่พนักงานให้ทราบถึงขีดความสามารถของตนเอง เพื่อที่จะพัฒนาตนเองได้ตรงจุดหรือแก้ไขในสิ่งที่ตนเองบกพร่อง
- ใช้ผลการประเมินประกอบการพิจารณาปรับปรุงวิธีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
หลักการและองค์ประกอบในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
- จัดทำเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน
- จัดทำแบบฟอร์มสำหรับผู้บังคับบัญชา
- ปัจจัยหรือสิ่งที่จะใช้ประเมินการปฏิบัติงานของบุคคล
- ผู้ทำหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติงาน
- กำหนดวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
- ระยะเวลาที่ควรประเมินผลงาน
- ผู้ปฏิบัติงานทุกคนควรจะได้รับทราบหลักเกณฑ์
การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน
ลักษณะต่าง ๆ ของการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน
- การเลื่อนตำแหน่ง (Promotion)
- หากมีตำแหน่งว่าง
- กำหนดเรื่องคุณสมบัติ
- วางหลักเกณฑ์
- การโยกย้าย (Transfer)
- การลดขั้นลดตำแหน่ง (Demotion)
- การออกจากงาน (Separation)
- การปลดเกษียณ (Retirement)
- การปลดออกจากงาน (Lay off)
- การไล่ออก (Discharge)
- การลาออก (Resignation)