Artboard 1

การสรรหาและคัดเลือกพนักงานขาย

วัตถุประสงค์ของการสรรหาและคัดเลือกพนักงานขาย คือ เพื่อที่ให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
มาปฏิบัติงานการขายและให้บริการลูกค้า ให้บรรลุเป้าหมายหรือผลกำไรตามที่คาดไว้ การคัดเลือกพนักงานขาย
จะง่ายขึ้นถ้ารู้ว่าต้องการพนักงานขายที่มีคุณสมบัติอย่างไร จุดเริ่มต้นในการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานขาย
ที่ดีคือการสอบถามจากลูกค้า ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่มักจะบอกว่าพนักงานขายที่ดีควรมีความซื่อสัตย์ เชื่อถือได้
มีความรู้ และเต็มใจช่วยเหลือ

วิธีการที่ดีที่สุดในการสรรหาและคัดเลือกพนักงานขายนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้ของแต่ละองค์การ
โดยการสรรหาและคัดเลือกพนักงานขายมีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ

กำหนดคุณสมบัติของพนักงานขาย
หาแหล่งที่มาของพนักงานขาย
กำหนดวิธีการสรรหา
กระบวนการคัดเลือก
เมื่อได้มีการกำหนดรายละเอียดงานของพนักงานขายแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการแสวงหาพนักงานขายที่มี
ความเหมาะสมตามที่ได้กำหนดไว้ แหล่งที่จะสามารถแสวงหาพนักงานขายได้อาจแบ่งออกเป็นแหล่งภายในบริษัท
(Internal source) และแหล่งภายนอกบริษัท (External source)

แหล่งภายในบริษัท คือ แหล่งภายในของบริษัทเอง ได้แก่ การแนะนำจากพนักงานขายปัจจุบันของบริษัท
ผู้บริหารของบริษัท และอาจได้มาจากการสับเปลี่ยนโยกย้ายภายในบริษัท เป็นต้น
แหล่งภายนอกบริษัท ได้แก่ ข้อมูลจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนในด้านการขาย
จากพนักงานขายของบริษัทคู่แข่งซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จากพนักงานขายของบริษัทอื่นๆ
ที่ไม่ใช่คู่แข่ง จากลูกค้าของลูกค้า จากสมาคมด้านการขาย จากสำนักงานจัดหางาน หรือจากการรับสมัคร
จากบุคคลภายนอกที่เข้ามายื่นใบสมัคร เป็นต้น
การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานขาย
การกำหนดคุณสมบัติของพนักงานขายเริ่มต้นจากการวิเคราะห์งาน ผู้บริหารต้องสามารถวิเคราะห์
ให้ได้ว่าพนักงานขายควรต้องมีงานอะไรบ้างเพื่อจะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ ซึ่งจะทำให้
ผู้บริหารสามารถกำหนดรายละเอียดงานของพนักงานขายได้ นอกจากนั้นจากการวิเคราะห์งาน
จะสามารถกำหนดได้ว่าพนักงานขายต้องมีหน้าที่รับผิดชอบอะไรบ้าง บุคลิกของพนักงานขายที่ดี
ควรเป็นอย่างไร ความชำนาญพิเศษที่ต้องการ ความสัมพันธ์กับลูกค้า หน้าที่ในการให้บริการ ฯลฯ
เมื่อทราบถึงรายละเอียดของงานแล้วจะทำให้สามารถกำหนดคุณสมบัติของพนักงานขายที่ต้องการได้
ในแง่ของรายละเอียดด้านบุคคลที่เกี่ยวกับงานขาย การฝึกอบรม ประสบการณ์ ความสามารถและอื่นๆ
ทั้งนี้ในการกำหนดคุณสมบัติของพนักงานขายที่จะคัดเลือกควรต้องแน่ใจให้ได้ว่าสิ่งที่กำหนดเหล่านั้น
จะช่วยให้เกิดความสำเร็จในงานขายจริง มิเช่นนั้นอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการสรรหาและคัดเลือกได้

หาแหล่งที่มาของพนักงานขาย
เมื่อได้มีการกำหนดรายละเอียดงานของพนักงานขายแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการแสวงหาพนักงานขาย
ที่มีความเหมาะสมตามที่ได้กำหนดไว้ แหล่งที่จะสามารถแสวงหาพนักงานขายได้อาจแบ่งออกเป็น
แหล่งภายในบริษัท (Internal source) และแหล่งภายนอกบริษัท (External source)

แหล่งภายในบริษัท คือ แหล่งภายในของบริษัทเอง ได้แก่ การแนะนำจากพนักงานขายปัจจุบันของบริษัท
ผู้บริหารของบริษัท และอาจได้มาจากการสับเปลี่ยนโยกย้ายภายในบริษัท เป็นต้น
แหล่งภายนอกบริษัท ได้แก่ ข้อมูลจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่มีการเรียนการสอนในด้านการขาย
จากพนักงานขายของบริษัทคู่แข่งซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม จากพนักงานขายของบริษัทอื่นๆ
ที่ไม่ใช่คู่แข่ง จากลูกค้าของลูกค้า จากสมาคมด้านการขาย จากสำนักงานจัดหางาน หรือจากการรับสมัคร
จากบุคคลภายนอกที่เข้ามายื่นใบสมัคร เป็นต้น

  1. กำหนดวิธีการสรรหา เมื่อทราบแหล่งที่มาของพนักงานขายแล้ว สิ่งที่ต้องกระทำต่อไปคือการดำเนินการสรรหาบุคคลจากแหล่งที่ กำหนดซึ่งอาจเป็นได้ 2 วิธี คือ การสรรหาทางตรงหรือการสรรหาโดยใช้บุคคลเข้าทำการสรรหา (Direct recruiting)และการสรรหาทางอ้อมหรือการสรรหาโดยไม่ใช้ตัวบุคคล (Indirect recruiting)

การสรรหาทางตรงหรือการสรรหาโดยใช้บุคคลเข้าสรรหา วิธีการนี้มักจะใช้ในการสรรหาพนักงานขาย
จากผู้ที่กำลังจะจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ โดยผู้ที่ทำหน้าที่สรรหาอาจเป็นเจ้าหน้าที่
ฝ่ายบุคคลหรือผู้จัดการฝ่ายขาย เช่น การเข้าร่วมนิทรรศการจัดหางานของสถาบันการศึกษาต่างๆ
โดยบุคคลของบริษัทดังกล่าวจะทำการสัมภาษณ์เบื้องต้นและให้ผู้สมัครทำการกรอกรายละเอียดต่างๆ
ซึ่งวิธีการแบบนี้อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงและต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าพอสมควร
หลังจากได้รายละเอียดผู้สมัครแล้วจะทำการรวบรวมเพื่อทำการพิจารณาคัดเลือกแล้วเรียกมาสัมภาษณ์
ต่อไป
การสรรหาทางอ้อมหรือการสรรหาโดยไม่ใช้ตัวบุคคล วิธีการนี้เป็นการสรรหาโดยใช้สื่อต่างๆ เป็นหลัก
เช่น การประกาศโฆษณารับสมัครงานตามหนังสือพิมพ์รายวัน วิทยุ หรือนิตยสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ
โดยจะประกาศถึงตำแหน่งงานที่จะรับ คุณสมบัติของผู้สมัคร ลักษณะงานโดยย่อ และค่าตอบแทนต่างๆ
ที่จะได้รับ เป็นต้น นอกจากนี้อาจอยู่ในรูปของใบปลิว โปสเตอร์ แผ่นพับ โดยอาจบอกเพียงรายละเอียด
งานคร่าวๆ และที่อยู่ติดต่อกลับ หรือรายได้ที่น่าสนใจ
4. กระบวนการคัดเลือก
กระบวนการคัดเลือกจะเกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกเอาบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดเพื่อรับเป็นพนักงานขาย
ของบริษัทซึ่งกระบวนการคัดเลือกนับเป็นงานที่สำคัญจึงต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบและยุติธรรม
โดยทั่วไปกระบวนการคัดเลือกจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ

การคัดเลือกขั้นต้น (Initial screening) โดยการพิจารณาจากใบสมัครของผู้สมัครแต่ละคนเพื่อทำการ
ตรวจสอบคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน แล้วทำการคัดเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้เอาไว้
ส่วนผู้สมัครที่ไม่มีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะถูกตัดออกไป
การทบทวนและพิจารณาใบสมัคร (Review of application) หลังจากที่ได้ทำการคัดเลือกเบื้องต้นแล้ว
จะได้ผู้สมัครที่ผ่านคุณสมบัติพื้นฐาน เพื่อนำมาพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งก่อนจัดส่งไปดำเนินการ
เรียกผู้สมัครที่เข้าข่ายมาสัมภาษณ์ต่อไป
การสัมภาษณ์ (Interview) การสัมภาษณ์เป็นวิธีการในการหาข้อมูลข่าวสารของผู้สมัคร ซึ่งได้รับ
ความนิยมในการคัดเลือกเนื่องจากสามารถสอบถามจากผู้สมัครได้โดยตรงและสามารถรับรู้ถึงไหวพริบ
การตอบสนองของผู้สมัครต่อคำถามแต่ละอย่างได้ทันที โดยบางบริษัทอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ร่วมกับ
การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์เป็นวิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายมากและเสียเวลาในการดำเนินการ
ดังนั้นก่อนการสัมภาษณ์ ควรมีการทบทวนรายละเอียดจากเอกสารการสมัครเพื่อการเตรียมการ
ในข้อคำถามที่จะสอบถามเพื่อสามารถหารายละเอียดของตัวผู้สมัครได้มากที่สุด
การตรวจสอบผู้ถูกอ้างอิง (Reference check) การตรวจสอบผู้ถูกอ้างอิงเป็นการรวมรวมข้อมูลเพิ่มเติม
ของผู้สมัคร โดยที่บางบริษัทอาจไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบดังกล่าวก็ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่
ผู้ถูกอ้างอิงมักจะเป็นบุคคลที่ผู้สมัครเห็นว่าชื่นชอบในตัวผู้สมัครอยู่แล้ว จึงอาจได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้
การทดสอบพื้นความรู้ (Test of knowledge) การทดสอบพื้นความรู้อาจมีความแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ
จุดมุ่งหมายในการใช้ว่าต้องการทราบอะไรเกี่ยวกับผู้สมัคร ซึ่งการทดสอบพื้นความรู้อาจเป็น
การทดสอบเกี่ยวกับความรู้ความสามารถ ความถนัด สติปัญญา บุคลิกลักษณะ และความสนใจในงาน
เป็นต้น การทดสอบดังกล่าวอาจจัดทำเป็นแบบฟอร์มมาตรฐานซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยผู้ชำนาญ
การสัมภาษณ์ครั้งสุดท้าย (Final interview) ในบางบริษัทอาจมีการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายเพื่อเป็นการ
สร้างความมั่นใจในการรับผู้สมัครเข้าทำงาน หลังจากที่ได้ทำการพิจารณารายละเอียดต่างๆ สัมภาษณ์
ขั้นต้น และทดสอบความรู้ความสามารถแล้ว โดยการสัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายอาจทำโดยผู้บริหารระดับสูง
หรือผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากไม่มีข้อขัดข้องแล้วผู้สมัครดังกล่าวก็จะถูกเรียกตัวเพื่อมาทำงาน

Tag : สรรหาคน สรรหาพนักงาน หาคนทำงาน หาคน ทรัพยากรบุคคล หาแรงงาน ให้คำปรึกษาทรัพยากรบุคคล HRConsultant HRConsult HR HROutsource Training TrainingOutsource Talentmanagement เทรนนิ่งพนักงาน #คอร์สอบรม หลักสูตรฝึกอบรม ฝึกอบรมกลุ่มใหญ่ บริการเอาท์ซอร์ส รับทำเงินเดือน ประมวลเงินเดือน หาพนักงานประจำ หาพนักงานชั่วคราว พาร์ทไทม์ หาคนช่วยงาน หากำลังเสริม จัดหาบุคลากร จัดหาคน บริษัทจัดหาคน บริษัทจัดหาพนักงาน #หาบุคลากร  กลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล การตลาดออนไลน์ Surveymarket ขายออนไลน์มืออาชีพ ฝึกอบรม ฝึกอบรมผู้บริหาร หลักสูตรการขาย นักขายมือโปร GenZManpower GenZ หาคนทำงานแบบการันตี ต้องการพนักงานจำนวนมาก บริการงานOutsource จัดหาคนสำหรับองค์กร #ระบบจ้างคนคุณภาพ Recruitment สรรหาคนเก่ง HRLegal บริการทรัพยากร ช่วยหางาน ช่วยหาคนทำงาน จัดจ้างพนักงาน หาพนักงานที่ใช่ หาคนเก่งถึกทน หาคนทำงานได้ที่ไหน พนักงานคุณภาพ Headhunting RecriutmentAgency Headhunters Headhunter Headhunterในไทย บริษัทHeadhunter รายชื่อบริษัทจัดหางาน

Share This Post

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on google
Share on email

More
articles