หลายคนเลือกทำงานในบริษัทนั้นๆ เพราะประทับใจในทัศนคติแรกพบกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) แต่หลายคนกลับตรงกันข้ามเลือกปฎิเสธร่วมงานทั้งๆ ที่ยังไม่ได้มีโอกาสแสดงความสามารถหรือทดลองทำงานจริงเลยก็เพียงเพราะทัศนติแรกที่ได้รับจากฝ่าย HR นั้นเป็นไปในทางลบ หากค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์บทความที่เกี่ยวกับเรื่องคำถามการสัมภาษณ์งานและแนะนำการตอบคำถามสำหรับผู้สมัครงานนั้นมีเกลื่อนกลาดเต็มไปหมด แต่กลับกันบทความที่แนะนำให้ฝ่าย HR เป็นผู้สัมภาษณ์ที่ดีและตั้งคำถามที่เหมาะควรนั้นแทบจะไม่มีเลย
หมวดที่ 1 : สร้างความคุ้นเคยระหว่างกัน
การสนทนาเล็กๆ น้อยๆ นี้อาจดูว่าเป็นเรื่องไร้สาระหรือไม่จำเป็นเท่าไร แต่การสนทนาอย่างไม่เป็นทางการ (หรืออาจกึ่งทางการ) นี้จะช่วยให้ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์ปรับจูนสร้างความคุ้นเคยกันได้ดี คำถามในกลุ่มนี้ควรเป็นปลายเปิด หรือเป็นคำถามส่วนบุคคลของผู้ถูกสัมภาษณ์ และไม่ควรเป็นคำถามที่สร้างความเครียดหรืออความกดดัน ทั้งนี้เพื่อเปิดบทสนาให้มีบรรยากาศที่ดี และสร้างความราบรื่นในการสัมภาษณ์ต่อไป หากเริ่มต้นที่ดีการสัมภาษณ์ก็จะลื่นไหลไปเรื่อย ทำให้แต่ละฝ่ายต่างรู้จักกันได้ง่ายและมากขึ้น และสร้างความประทับใจได้ดีทีเดียว
หมวดที่ 2 : เจาะลึกเรื่องการทำงาน / ทักษะ / ความสามารถ
ถามเรื่องทั่วไปจนทำความรู้จักเบื้องต้น และลดความประหม่าลงแล้ว ก็อาจเริ่มเข้าสู่เรื่องงาน เรื่องจริงจังมากขึ้น ตรงส่วนนี้เราจะใช้ตรวจสอบคุณสมบัติรวมถึงทัศนคติต่อการทำงานว่าตรงตาม Job Description ที่เราวางไว้หรือไม่ และจะสามารถทำงานของบริษัทได้หรือเปล่า หรือทำงานร่วมกับพนักงานคนอื่นได้หรือไม่ ตรงนี้ฝ่าย HR เองต้องเตรียมคำถามให้รอบด้าน ครอบคลุม เพราะเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานจริง
หมวดที่ 3 : คำถามเชิงจิตวิทยาและการทดสอบทัศนคติ
คำถามช่วงนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง หรือบางทีก็อาจเป็นเรื่องของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นตลอดจนทัศนคติในการทำงานเสียมากกว่า จุดนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ฝ่าย HR และผู้สมัครจะเช็คว่าเรา “คลิ๊ก” กันจริงๆ หรือไม่
หมวดที่ 3 : คำถามเชิงจิตวิทยาและการทดสอบทัศนคติ
คำถามช่วงนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับงานโดยตรง หรือบางทีก็อาจเป็นเรื่องของผู้ถูกสัมภาษณ์เอง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็นตลอดจนทัศนคติในการทำงานเสียมากกว่า จุดนี้อาจจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดที่ฝ่าย HR และผู้สมัครจะเช็คว่าเรา “คลิ๊ก” กันจริงๆ หรือไม่
หมวดที่ 4 : การเจรจารายละเอียดงาน
หมวดนี้เป็นเรื่องความรับผิดชอบของฝ่าย HR โดยตรง เป็นคำถามเชิงเก็บข้อมูลที่เป็นปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมที่สุดเข้ามารับงานในแต่ละตำแหน่ง เป็นการถามไปตรงไปตรงมา เพราะมีผลต่อการจ้างงานตลอดจนทำข้อตกลงหรือสัญญาจ้างในอนาคต และเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้สมัครงานด้วย
ความจริงใจ … สำคัญที่สุด
ยุคนี้สิ่งที่ทุกคนต้องการมากที่สุดก็คือ “ความจริงใจ” ตำราการสัมภาษณ์หลายแหล่งมักแนะนำให้ตอบปัญหาแบบสวยหรู เชิงบวกที่ดูโอเว่อร์เกินจริง หรือทัศนคติสวยหรูที่ทำให้ได้งานแน่ๆ แต่กลับเลี่ยงที่จะแสดงทัศนคติที่แท้จริงของตนออกไป เวลาทำงานจริงแล้วหลายครั้งจึงมักเกิดปัญหา เกิดการลาออก และต้องเข้ากระบวนการรับสมัครงานใหม่ ยุคปัจจุบันฝ่ายทรัพยากรบุคคลก็เริ่มเอียนกับคำตอบโลกสวยที่เป็นแพทเทิร์นเดียวกันหมด เพราะรู้ชัดเจนว่าอ่านและท่องจำมาเหมือนๆ กันหมด นั่นทำให้ HR หลายบริษัทเริ่มมองคนที่ตอบคำถามลักษณะนี้เป็นแง่ลบ ไม่มีความคิดของตัวเอง และโกหกเพื่อให้ได้งาน อันที่จริงแล้วสิ่งที่ HR ต้องการฟังมากที่สุดก็คือ “ทัศนคติ” และ “ความจริงใจ” ที่เป็นตัวของตัวเอง ตรงไปตรงมา ตอบเชิงบวกได้ดี ในขณะที่อธิบายเชิงลบได้อย่างมีเหตุผล เพราะนั่นจะทำให้ฝ่าย HR ประเมินผู้สมัครได้ดีที่สุด และทำให้ไม่มีปัญหาตามมาเมื่อเริ่มทำงานจริง