Artboard 1

เจาะลึกเรื่องการจ้างงานในญี่ปุ่น! ข้อดีข้อเสียของการเป็นพนักงานประจำ พนักงานรายสัญญา และพนักงานพาร์ทไทม์

คุณตรงนั้นที่ต้องการหางานทำในญี่ปุ่น! คุณกำลังเลือกงานโดยมองแค่ค่าตอบแทนหรือรายละเอียดของงานอยู่หรือเปล่า? เราจะบอกให้ว่าแดนปลาดิบนี้มีรูปแบบการจ้างงานอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ พนักงานรายสัญญา พนักงานจัดหา พนักงานล่วงเวลา หรือพนักงานพาร์ทไทม์ ซึ่งนอกจากค่าแรงจะต่างกันแล้ว รายละเอียดด้านประกันสังคม ประกันแรงงาน และเงินภาษีก็แตกต่างไปด้วยเช่นกัน ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับความแตกต่างของรูปแบบการจ้างงานแต่ละแบบอย่างละเอียด ลองมาทำความเข้าใจเพื่อให้เลือกงานได้อย่างมั่นใจว่าจะไม่เสียใจภายหลังกันเถอะ!
รูปแบบการจ้างงาน
หลายคนอาจรู้จักคำว่าพนักงานประจำ พนักงานรายสัญญา พนักงานจัดหา พนักงานล่วงเวลา และพนักงานพาร์ทไทม์ แต่ก็มีน้อยคนที่จะสามารถอธิบายความแตกต่างออกมาได้อย่างชัดเจน จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้แตกต่างกันตรงที่สัญญาที่ลูกจ้างและบริษัททำต่อกัน หรือก็คือความแตกต่างด้านรูปแบบการจ้างงานนั่นเอง
ในบทความนี้ เราจะแนะนำให้คุณรู้จักกับ 7 รูปแบบการจ้างงานที่มักพบได้บ่อยในญี่ปุ่น ทั้งในด้านข้อดี ข้อเสีย ขั้นตอนการจ้าง ระดับค่าแรง และเงื่อนไขประกันสังคมให้ได้รู้แบบเจาะลึกกันไปเลย
ประกันสังคมของญี่ปุ่น – แม้แต่ชาวต่างชาติก็จำเป็นต้องเข้าร่วม!
ประกันสังคมของญี่ปุ่นมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นประกันบำนาญ ประกันสุขภาพ หรือประกันแรงงาน (ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือการเลิกจ้าง) โดยประกันบำนาญและประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ต้องเข้าร่วมพร้อมๆ กัน ในกรณีของประกันสองอย่างนี้ ไม่ว่าคุณจะมีสัญชาติใด (อาจยกเว้นสำหรับประเทศที่ผูกสัญญา “ความร่วมมือความปลอดภัยทางสังคม *1”) หากสถานที่ทำงานเข้าข่าย “สถานที่ทำงานที่บังคับให้ต้องเข้าร่วม *2” แล้ว ก็จำเป็นต้องเข้าร่วมทั้งนั้น และเมื่ออายุถึง 65 ปีแล้วก็จะสามารถขอรับเงินบำนาญได้เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่น
อย่างไรก็ดี ผู้ที่ไม่อยากจ่ายเงินบำนาญเพราะมีแผนจะกลับประเทศในอนาคตก็มีอยู่ไม่น้อย ในกรณีนี้เราจะสามารถขอเงินก้อนจากการยกเลิกประกันสังคมได้หากอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จากลิงก์บทความด้านล่าง
1: ระบบที่ญี่ปุ่นกับต่างประเทศร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายเงินประกันบำนาญซ้ำซ้อน และช่วยให้สามารถบรรลุเงื่อนไขการรับเงินบำนาญได้ง่ายขึ้น 2: สถานที่ทำงานที่กฎหมายกำหนดให้ต้องเข้าร่วมประกันบำนาญและประกันสุขภาพ
▼ บทความที่เกี่ยวข้อง: คู่มือรวมเรื่องภาษี, ประกันสุขภาพ, เงินบำนาญในญี่ปุ่น ที่ชาวต่างชาติก็ต้องจ่าย!
ความไม่เท่าเทียมกำลังจะหายไป! นโยบาย “งานเดียวเงินเดียว” ที่เริ่มใช้ในเดือนเมษายน 2020

นโบายงานเดียวเงินเดียวถูกนำเข้ามาใช้เพื่อลดความไม่เท่าเทียมระหว่างแรงงานประจำกับแรงงานชั่วคราวในบริษัทหรือองค์กรเดียวกัน ส่งผลให้บริษัทต้องมีการเปลี่ยนแปลง 3 อย่างดังนี้
(1) ตั้งกฎเกณฑ์เพื่อไม่ให้มีการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม
(2) เพิ่มความเข้มงวดเรื่องข้อบังคับในการอธิบายให้ลูกจ้างทราบถึงการปฏิบัติที่ตนเองจะได้รับ
(3) เตรียมพร้อมด้านการให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำจากทางรัฐ รวมถึงกระบวนการระงับข้อพิพาทนอกศาล (ADR)
กล่าวคือ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำหรือไม่ประจำ หากมีเนื้อหางานและตำแหน่งเดียวกันก็จะได้รับค่าแรงและการปฏิบัติที่เหมือนกันนั่นเอง สิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปสภาพการทำงาน โดยเริ่มบังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2020 และจะใบังคับใช้กับบริษัทขนาดเล็กและกลางในวันที่ 1 เมษายน 2021
ลองมาดูกันว่ารูปแบบการจ้างงานแต่ละแบบนั้นจะมีจุดเหมือนและจุดต่างกันอย่างไรบ้าง
พนักงานประจำ

รูปแบบการจ้างงานที่ไม่ระบุระยะเวลาจ้างไว้ในสัญญา หรือก็คือการจ้างที่คาดว่าจะเป็นระยะยาว กฎหมายกำหนดให้รูปแบบการจ้างชนิดนี้มีเวลาทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ขั้นตอนการจ้างจะแตกต่างกันไปตามบริษัท แต่โดยพื้นฐานแล้วก็จะเริ่มจากการส่งประวัติส่วนตัวหรือประวัติการทำงาน และเข้าสัมภาษณ์อย่างน้อยหนึ่งครั้ง โดยส่วนของภาษีเงินได้ ภาษีผู้อยู่อาศัย และเงินประกันสังคมต่างๆ จะถูกหักออกจากค่าแรงโดยตรง
ปัจจุบันข้อดีของพนักงานประจำได้แก่ ค่าแรง สวัสดิการลูกจ้าง และการลาหยุดแบบที่ยังได้รับค่าแรง หลายบริษัทมักดูแลลูกจ้างด้วยการให้โบนัสและเงินก้อนหลังเกษียณ บริษัทที่ใช้ระบบอายุงานก็มีอยู่มากเช่นกัน ยิ่งทำงานกับบริษัทนานเท่าไรก็จะได้รับค่าแรงมากขึ้นเท่านั้น กล่าวได้ว่ามีความมั่นคงทางรายได้ที่สูงกว่ารูปแบบการจ้างอื่นๆ แถมนอกจากสวัสดิการลูกจ้างที่กฎหมายกำหนดให้มีแล้ว หลายบริษัทก็ยังมักจะให้สวัสดิการลูกจ้างอื่นๆ ไว้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทาง ค่าช่วยเหลือที่อยู่อาศัย (ช่วยค่าเช่าบ้าน) ค่าช่วยเหลือครอบครัว ค่าตรวจสุขภาพ หรือค่าช่วยเหลือการสอบใบประกาศนียบัตร ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นสิทธิพิเศษของพนักงานประจำทั้งนั้น สุดท้ายแล้ว หากได้รับความไว้วางใจจากบริษัทก็อาจได้รับมอบหมายงานที่ท้าทายอีกด้วย
ในอีกทางหนึ่ง เนื่องจากอยู่ในตำแหน่งงานมีความรับผิดชอบเช่นนี้ ทำให้อาจต้องทำงานล่วงเวลาตามแต่บริษัทหรือสายอาชีพ ถึงแม้ว่าจะมีเงินค่าล่วงเวลาให้ แต่สำหรับคนที่ไม่ชอบทำงานนอกเหนือเวลาที่กำหนดไว้แล้วก็เป็นข้อเสียที่ไม่อาจมองข้ามเลยทีเดียว นอกจากนี้ พนักงานประจำยังมีความเสี่ยงในการถูกย้ายอีกด้วย
อย่างไรก็ดี นโยบายงานเดียวเงินเดียวที่นำเข้ามาใช้ในครั้งนี้อาจทำให้สิทธิพิเศษของพนักงานประจำลดลงไปด้วยเช่นกัน
พนักงานรายสัญญา (สัญญาว่าจ้างกำหนดระยะเวลา)
ความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างพนักงานประจำกับพนักงานรายสัญญาคือการกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ในสัญญา กล่าวคือ ระยะเวลาการทำงานจะจบลงตามที่กำหนดไว้ เว้นแต่ในกรณีที่ทั้งฝ่ายบริษัทและฝ่ายลูกจ้างประสงค์จะต่อสัญญาใหม่ นอกเหนือจากนี้ก็ไม่มีอะไรต่างกันนัก เวลาเข้าทำงานส่วนใหญ่ก็จะเป็นเวลาเดียวกันกับพนักงานประจำ ค่าแรงก็ใกล้เคียงกัน ประกันสังคมก็มีลักษณะเดียวกัน ภาษีเงินได้และภาษีผู้อยู่อาศัยเองก็จะถูกหักออกจากค่าแรงเช่นกัน
ข้อดีของพนักงานรายสัญญาคือ แม้ว่าจะมีเนื้อหางานและค่าแรงที่เท่าๆ กัน แต่ก็ไม่ต้องแบกรับความรับผิดชอบเท่ากับพนักงานประจำ ตัวอย่างที่ชัดเจนคือต้องทำงานล่วงเวลาน้อยมาก ส่วนใหญ่คือไม่มีเลย สถานที่ทำงานก็มีการระบุไว้ชัดเจนจึงไม่ต้องกังวลว่าจะถูกย้ายไปทำงานที่อื่น บริษัทที่ห้ามไม่ให้พนักงานรายสัญญารับงานอื่นไปด้วยก็มีอยู่น้อย หากรู้จักบริหารเวลาก็อาจสามารถทำงานอื่นๆ ควบคู่ไปได้ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น บางบริษัทยังมีระบบที่ช่วยเลื่อนขั้นพนักงานรายสัญญาให้เป็นพนักงานประจำอีกด้วย หากมีบริษัทที่อยากเข้าทำงานประจำเป็นพิเศษ ก็สามารถเข้าไปลองเริ่มต้นจากการเป็นพนักงานรายสัญญาได้เช่นกัน
ข้อเสียก็ไม่พ้นเรื่องโอกาสที่สัญญาจ้างจะจบลงโดยไม่ได้รับการต่อสัญญาใหม่ พนักงานประจำจึงดูมั่นคงกว่าและสามารถสั่งสมประสบการณ์ได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม หากอยู่ในระยะเวลาสัญญาก็ไม่ต้องกังวลว่าจะถูกทางบริษัทยกเลิกสัญญาอย่างกะทันหัน เว้นแต่จะมีเหตุผลจำเป็นจริงๆ
ในอดีตมีบริษัทไม่กี่แห่งที่จ่ายโบนัสให้กับพนักงานรายสัญญา ถึงมีให้ก็เป็นจำนวนเงินที่น้อยกว่าพนักงานประจำ อย่างไรก็ตาม หากเนื้อหาของงานไม่ต่างกับพนักงานประจำ นโยบายงานเดียวเงินเดียวก็น่าจะช่วยขจัดความไม่เท่าเทียมนี้ได้ นอกจากนี้ หากพนักงานรายสัญญาทำงานกับบริษัทมาอย่างยาวนานพอก็จะได้รับเงินเกษียณเช่นกัน ถึงแม้ว่าจะเป็นจำนวนที่น้อยกว่าพนักงานประจำอยู่เล็กน้อยก็ตาม
พนักงานจัดหา

ในบรรดารูปแบบการจ้างงานที่เรายกมานำเสนอในครั้งนี้ พนักงานจัดหาเป็นประเภทเดียวที่เป็นการจ้างงานทางอ้อม ต่างกับพนักงานประจำ พนักงานรายสัญญา และพนักงานพาร์ทไทม์ที่เป็นการทำสัญญากับผู้ว่าจ้างโดยตรง พนักงานจัดหาจะทำทำสัญญากับบริษัทจัดหา และถูกส่งไปทำงานที่ต่างๆ ตามความสามารถและความเหมาะสม โดยค่าแรง เนื้อหางาน และเงื่อนไขการรับนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทั้งบริษัทจัดหาและบริษัทปลายทาง แม้จะทำงานเดียวกันอยู่ในบริษัทเดียวกัน แต่หากมาจากบริษัทจัดหาที่ต่างกันก็อาจมีเงื่อนไขการทำงานที่ต่างกันได้ นอกจากนี้ พนักงานจัดหาก็จะทำประกันสังคมกับบริษัทจัดหา ไม่ใช่กับบริษัทปลายทางที่เข้าทำงาน
ข้อดีของพนักงานจัดหาคือมีค่าแรงต่อชั่วโมงที่สูงกว่าแม้จะคิดค่าแรงเป็นรายชั่วโมงเช่นเดียวกับพนักงานพาร์ทไทม์และพนักงานล่วงเวลา ในกรณีที่มีทักษะสูงก็อาจได้ทำงานในบริษัทดังๆ ที่เข้าเป็นพนักงานประจำได้ยากอีกด้วย ส่วนข้อเสียจะก็มีทั้งการที่ต้องต่อสัญญาทุก 3 เดือน และข้อจำกัดที่ว่าไม่สามารถทำอยู่ที่เดิมได้เกิน 3 ปี โดยสิ่งเหล่านี้ถูกระบุไว้ในกฎหมายการจัดหาแรงงาน แม้จะมีจุดประสงค์ที่ดีในส่งเสริมให้มีการจ้างพนักงานประจำมากขึ้น แต่ก็ถือเป็นข้อเสียสำหรับพนักงานจัดหาที่ต้องการทำงานอยู่ที่เดิมนานๆ
ผู้ที่เป็นแรงงานจัดหาควรระวังเป็นพิเศษเมื่อนโยบายงานเดียวเงินเดียวถูกนำเข้ามาใช้ เนื่องจากจะมีรูปแบบการปฏิบัติอยู่ 2 แบบ (ตามบริษัทปลายทาง และตามข้อตกลงแรงงาน) และจะเลือกใช้แบบไหนก็ขึ้นอยู่กับบริษัทจัดหาแต่ละแห่ง
ในกรณีที่ใช้ตามบริษัทปลายทาง คุณจะได้รับการปฏิบัติที่เหมือนกับพนักงานประจำของบริษัท แม้จะเป็นพนักงานจัดหาก็จะได้รับค่าแรงเท่ากับพนักงานประจำ ในขณะเดียวกันก็อาจเกิดความแตกต่างให้เห็นตามบริษัทปลายทางแต่ละแห่ง
ส่วนในกรณีที่ต้องทำตามข้อตกลงแรงงาน คุณจะได้รับค่าแรงเท่ากับหรือมากกว่าค่าแรงเฉลี่ยของผู้ที่ทำงานในสายงานเดียวกัน โดยทางกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการจะแจ้งค่าเฉลี่ยดังกล่าวนี้ให้ทราบในทุกๆ ปี แม้ว่าค่าแรงจะไม่ต่างไปตามสถานที่ทำงาน แต่ก็อาจรู้ถึงถึงความไม่เท่าเทียมได้เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับพนักงานประจำของบริษัทปลายทาง บริษัทจัดหารายใหญ่ๆ นิยมใช้รูปแบบตามข้อตกลงแรงงาน สิ่งหนึ่งที่ควรจำไว้คือ การที่จะเลือกใช้รูปแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับทางบริษัทจัดหา โดยพนักงานจะไม่มีสิทธิ์ในการเลือก
นอกจากนี้ การนำนโยบายงานเดียวเงินเดียวเข้ามาใช้ยังช่วยให้พนักงานจัดหามีสิทธิได้รับเงินค่าเดินทาง ซึ่งเป็นสวัสดิการที่ในอดีตไม่ค่อยได้รับอีกด้วย นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ค่อยข้างใหญ่สำหรับแรงงานจัดหาเลยทีเดียว
พนักงานพาร์ทไทม์

ตามกฎหมายแล้วงานพาร์ทไทม์ (パートタイム) กับงานล่วงเวลา (アルバイト) ถือว่าไม่แตกต่างกัน แต่ชาวญี่ปุ่นมักจะมีภาพจำว่างานพาร์ทไทม์เป็นของแม่บ้าน และงานล่วงเวลาเป็นของนักศึกษาและคนหนุ่มสาว โดยจะเลือกใช้คำเหล่านี้ตามอาชีพที่ต่างกันไป เนื้อหาของงานมักจะมีความเฉพาะทางน้อยกว่ารูปแบบการจ้าง 3 แบบที่ได้กล่าวไป เนื่องจากระยะเวลาการจ้างจะแตกต่างไปในการประกาศรับคนแต่ละครั้ง เช่น รับสมัครพนักงานระยะยาว หรือรับสมัครระยะสั้นเป็นรายเดือน จึงสามารถเลือกสมัครได้ตามระยะเวลาที่เราสะดวก
ข้อเสียคือมีโอกาสพัฒนาทักษะค่อนข้างน้อยแม้ว่าจะทำเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากพนักงานและแรงงานพาร์ทไทม์มีเนื้องานที่หลากหลาย หากเป็นงานประเภทงานบริการและงานค้าขาย อาจมีโอกาสได้เลื่อนขั้นเป็นพนักงานประจำอยู่บ้าง แต่สำหรับสายงานอื่นๆ แล้ว หากต้องการเลื่อนขั้นเป็นพนักงานประจำก็ขอแนะนำให้เริ่มจากรูปแบบการจ้างอื่นๆ จะดีกว่า
แม้จะเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ก็จำเป็นต้องเข้าร่วมประกันสังคมหากเข้าข่ายเงื่อนไขดังนี้
・มีเวลาทำงานตลอด 1 สัปดาห์ และจำนวนวันเข้าทำงานตลอด 1 เดือน คิดเป็นอย่างน้อย 3 ใน 4 ส่วนของพนักงานประจำ
・ในกรณีที่ไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าว ก็ยังจำเป็นต้องเข้าร่วมหากครบเงื่อนไขทั้ง 5 ข้อด้านล่างนี้
(1) มีเวลาทำงานตลอด 1 สัปดาห์มากกว่า 20 ชั่วโมง
(2) มีค่าแรงต่อเดือนมากกว่า 88,000 เยน
(3) มีแนวโน้มที่จะทำงานมากกว่า 1 ปี
(4) ไม่ได้เป็นนักเรียนหรือนักศึกษา
(5) เป็นพนักงานของบริษัทที่มีผู้เข้าร่วมประกันสังคม 501 คนขึ้นไป
นอกจากนี้ แม้นโยบายงานเดียวเงินเดียวจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติเช่นเดียวกับพนักงานไม่ประจำรูปแบบอื่นๆ แต่ถ้าเป็นพนักงานพาร์ทไทม์ที่ทำงานเต็มเวลาหรือจ้างแบบไม่มีกำหนดจะถือว่าไม่ได้อยู่ในระบบนี้ จึงควรระวังไว้ด้วย
พนักงานประจำระยะสั้น

Tag : สรรหาคน สรรหาพนักงาน หาคนทำงาน หาคน ทรัพยากรบุคคล หาแรงงาน ให้คำปรึกษาทรัพยากรบุคคล HRConsultant HRConsult HR HROutsource Training TrainingOutsource Talentmanagement เทรนนิ่งพนักงาน #คอร์สอบรม หลักสูตรฝึกอบรม ฝึกอบรมกลุ่มใหญ่ บริการเอาท์ซอร์ส รับทำเงินเดือน ประมวลเงินเดือน หาพนักงานประจำ หาพนักงานชั่วคราว พาร์ทไทม์ หาคนช่วยงาน หากำลังเสริม จัดหาบุคลากร จัดหาคน บริษัทจัดหาคน บริษัทจัดหาพนักงาน #หาบุคลากร  กลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล การตลาดออนไลน์ Surveymarket ขายออนไลน์มืออาชีพ ฝึกอบรม ฝึกอบรมผู้บริหาร หลักสูตรการขาย นักขายมือโปร GenZManpower GenZ หาคนทำงานแบบการันตี ต้องการพนักงานจำนวนมาก บริการงานOutsource จัดหาคนสำหรับองค์กร #ระบบจ้างคนคุณภาพ Recruitment สรรหาคนเก่ง HRLegal บริการทรัพยากร ช่วยหางาน ช่วยหาคนทำงาน จัดจ้างพนักงาน หาพนักงานที่ใช่ หาคนเก่งถึกทน หาคนทำงานได้ที่ไหน พนักงานคุณภาพ Headhunting RecriutmentAgency Headhunters Headhunter Headhunterในไทย บริษัทHeadhunter รายชื่อบริษัทจัดหางาน

Share This Post

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on google
Share on email

More
articles