ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) เป็นกลุ่มของโรคที่เกิดจากลักษณะการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งโต๊ะทำงานต่อเนื่องหลายชั่วโมง ไม่ได้ขยับลุกไปไหน บางคนต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์เกือบตลอดเวลา ซึ่งลักษณะเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายหลายระบบ เช่น มีปัญหาปวดกล้ามเนื้อจากการนั่งทำงานนาน อาการชาที่มือเนื่องจากการกดทับเส้นประสาทที่มือ ปวดเสียดท้องจากการทานอาหารไม่ตรงเวลา สมรรถภาพของร่างลดลงเนื่องจากไม่มีเวลาออกกำลังกาย ฯลฯ

ตัวอย่างโรคในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นโรคทางกระดูกและกล้ามเนื้อ ได้แก่ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด (Myofascial pain syndrome) ปวดหลังจากท่าทางไม่เหมาะสม (Postural back pain) เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (Carpal tunnel syndrome) นิ้วล็อค (Trigger finger) นอกจากนี้ระบบอื่นของร่างกายอาจได้รับผลกระทบจากการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เช่น โรคแผลในกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน ปวดศีรษะจากความเครียด ภาวะอ้วน เป็นต้น

อาการผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง

  1. ผู้ที่ต้องทำงานลักษณะเดิมต่อเนื่อง อย่างน้อย 6 ชั่วโมงต่อวัน เช่น นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง ไม่ได้ลุกไปไหน หรือนั่งทำบัญชีเร่งด่วนตอนปลายเดือน
  • ผู้ที่มีอาการปวดบริเวณไหล่ ต้นคอ สะบัก หลัง บางครั้งมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือร้าวลงแขนขณะนั่งทำงานอยู่ ต้องขยับเปลี่ยนท่าทางจึงจะดีขึ้น
  • อาการปวดสัมพันธ์กับช่วงที่ต้องทำงาน แต่พอช่วงวันหยุดอาการปวดไม่เป็นมาก
  • ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่มีเวลาว่างออกกำลังกาย

สาเหตุหลักของโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) 

คือการใช้งานกล้ามเนื้องและข้อต่อที่ผิดไปจากภาวะปกติ เกิดจากการทำงานในพื้นที่จำกัดและขาดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ได้แก่

  1. นั่งไขว่ห้าง
  • นั่งหลังงอ หลังค่อม
  • นั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น
  • ยืนแอ่นพุง/ยืนหลังค่อม
  • สะพานกระเป๋าหนักข้างเดียว

4 วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome)

การป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรมประกอบด้วยหลายปัจจัย และทุกสาเหตุมีความสำคัญที่นำมาซึ่งอาการปวด ดังนั้นการป้องกันแต่ละวิธีจะมีส่วนช่วยให้ท่านมีความสุขกับการทำงานที่ปราศจากอาการปวด โดยการป้องกันนี้เป็นตัวอย่างที่จะแนะนำเพื่อลดการเกิดปัญหาออฟฟิศซินโดรม

  1. การปรับเปลี่ยนท่าทางอิริยาบถเพื่อให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
  • ไม่ทำงานในท่าทางอริยาบทเดิมนานเกิน 50 นาที หากมีความจำเป็นต้องทำต่อเนื่องควรหยุดพักสัก 10-15 นาที
  • ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ในการทำงานที่จำเป็นเพื่อลดการบาดเจ็บในระหว่างปฏิบัติงาน
  • เตรียมร่างกายให้พร้อม เช่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณที่ต้องใช้งานหนัก, การยืดกล้ามเนื้อก่อน ระหว่าง และหลังจากการทำงานในแต่ละวัน

และนี่คือ 4 วิธีการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ให้เหมาะกับชีวิตการทำงานของตัวเอง อย่าปล่อยให้อาการออฟฟิศซินโดรมหยุดคุณจากการทำงานให้ประสบความสำเร็จ แต่ก็อย่าชะล่าใจทำงานหนักจนลืมดูแลสุขภาพของตัวเอง ไม่งั้นความสำเร็จที่คุณสร้างมาอาจจะต้องยกให้เป็นค่ารักษาพยาบาลในอนาคต ซึ่งแน่นอนว่าไม่คุ้มแน่นอน เพราะความสำเร็จทุกๆด้านไม่อาจชดเชยความล้มเหลวด้านสุขภาพได้ หากคุณมีปัญหารุนแรงลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักกายภาพบำบัดดูครับ

Credit :

https://www.sukumvithospital.com/content.php?id=3495
https://bit.ly/3tTgRY8
https://www.researcherthailand.co.th/

Tag : สรรหาคน สรรหาพนักงาน หาคนทำงาน หาคน ทรัพยากรบุคคล หาแรงงาน ให้คำปรึกษาทรัพยากรบุคคล HRConsultant HRConsult HR HROutsource Training TrainingOutsource Talentmanagement เทรนนิ่งพนักงาน #คอร์สอบรม หลักสูตรฝึกอบรม ฝึกอบรมกลุ่มใหญ่ บริการเอาท์ซอร์ส รับทำเงินเดือน ประมวลเงินเดือน หาพนักงานประจำ หาพนักงานชั่วคราว พาร์ทไทม์ หาคนช่วยงาน หากำลังเสริม จัดหาบุคลากร จัดหาคน บริษัทจัดหาคน บริษัทจัดหาพนักงาน #หาบุคลากร  กลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล การตลาดออนไลน์ Surveymarket ขายออนไลน์มืออาชีพ ฝึกอบรม ฝึกอบรมผู้บริหาร หลักสูตรการขาย นักขายมือโปร GenZManpower GenZ หาคนทำงานแบบการันตี ต้องการพนักงานจำนวนมาก บริการงานOutsource จัดหาคนสำหรับองค์กร #ระบบจ้างคนคุณภาพ Recruitment สรรหาคนเก่ง HRLegal บริการทรัพยากร ช่วยหางาน ช่วยหาคนทำงาน จัดจ้างพนักงาน หาพนักงานที่ใช่ หาคนเก่งถึกทน หาคนทำงานได้ที่ไหน พนักงานคุณภาพ Headhunting RecriutmentAgency Headhunters Headhunter Headhunterในไทย บริษัทHeadhunter รายชื่อบริษัทจัดหางาน

Share This Post

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on google
Share on email

More
articles