Artboard 1

Outsourcing ทางเลือก ทางรอด หรือความเสี่ยง

เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสไปบรรยายเรื่อง Outsourcing ให้กับบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการผลิตสื่อหลากหลายชนิดแห่งหนึ่ง ซึ่งวัตถุประสงค์นั้นก็เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพนักงานของบริษัทต่อการที่จะทำงานร่วมกับ Outsource หรือการเลือก Outsource

สำหรับคำว่า “Outsourcing” หากจะแปลทีละคำ ความหมายจะดูผิดเพี้ยนไป ซึ่งแปลโดยรวมก็คือ “การจัดจ้างงานจากภายนอก” ซึ่งหมายถึง การที่ธุรกิจหรือหน่วยงานมอบหมายงานบางส่วนให้กับบุคคลหรือองค์กรภายนอกมาดำเนินการแทน โดยจะเป็นผู้กำหนดและควบคุมกำกับทุกส่วน ตั้งแต่นโยบายไปจนถึงการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอนของผู้รับจ้าง
ระบบ Outsourcing เข้ามาในวงการธุรกิจตั้งแต่เมื่อประมาณปี 2526 จนถึงปัจจุบัน (2556) ถือว่ามีมานานกว่า 30 ปีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัย, แม่บ้าน, ไอที, จัดอีเว้นท์, การออกแบบกราฟฟิค, งานอาร์ตเวิร์ค, งานศิลปะ เป็นต้น ซึ่งนับวันจะมีความหลากหลายของงานในลักษณะ Outsourcing เพิ่มมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ผลการสำรวจแนวโน้มเครื่องมือทางการจัดการปี 2013 ที่ผู้บริหารนิยมใช้มากที่สุดของ Ben & Company’s พบว่า Outsourcingจัดเป็น 1ใน 25 เครื่องมือทางการจัดการที่ยังคงได้รับความนิยมติดต่อกันกว่า 10 ปีแล้ว
จะเห็นได้ว่า แนวโน้มการเลือกใช้ Outsourcing เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยของการทำธุรกิจในยุคนี้ แต่ก่อนตัดสินใจเลือกใช้ Outsource จะต้องคำนึงและพิจารณาก่อนว่าจะเป็นการจ้างเพียงครั้งเดียว หรือมีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการจ้างแบบใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจทั้งสิ้น
ดังนั้น ผู้ว่าจ้างจะต้องเข้าใจธรรมชาติของ Outsource และพิจารณาว่า Outsource นั้นมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานตนเองหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะประสบกับความล้มเหลวและงานสะดุดเสียหายได้
แม้ว่าการใช้ Outsource จะสามารถยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่ายก็ตาม แต่บางครั้งเมื่อเปลี่ยนผู้รับจ้างแล้วหาผู้รับจ้างใหม่อาจส่งผลให้งานไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดกับลูกค้าไว้
สำหรับเหตุผลที่จะต้องใช้ Outsourcing ของบริษัท ซึ่งหลักๆ ดูเหมือนว่าจะเป็นข้อดีของการนำ Outsource มาใช้มีอยู่ 4 ประการ คือ

  1. นโยบายจากผู้บริหารและผู้ถือหุ้น โดยมองว่านี่คือการเปลี่ยนแปลงภายในบริษัทที่จะก่อให้เกิดความสมดุลและความสามารถทางการแข่งขันเชิงธุรกิจในอนาคตได้
  2. ต้องการลดและควบคุมค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะด้านแรงงาน โดยต้องการตัดทอนค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มผลตอบแทนให้กับบริษัท
  3. ต้องการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ซึ่งธุรกิจของตนเองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายได้อย่างครบถ้วน ดังนั้น Outsourcing จะเป็นการช่วยแบ่งเบาภารกิจในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าดังกล่าว
  4. ต้องการลดการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset) ซึ่งเป็นเงินทุนจม เช่น เครื่องตัดต่อ, โรงพิมพ์, การทำเพลท, รถขนส่ง เป็นต้น
    ส่วนความเสี่ยงการใช้ Outsourcing จะมี 5 ข้อ ซึ่งได้แก่
  5. ความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับการบริการลูกค้า หากงานนั้นเป็นงานที่จะต้องสัมผัสและติดต่อกับลูกค้าของบริษัทโดยตรงหรือโดยอ้อม ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นก็คือ ลูกค้าจะเกิดความไม่พอใจอาจนำไปสู่การไม่กลับมาเป็นลูกค้าอีก ตัวอย่างเช่น บัตรเครดิตยี่ห้อหนึ่งใช้ Outsource Call Center เมื่อลูกค้าไปต่างประเทศแล้วเกิดปัญหาเกี่ยวกับบัตรที่ใช้รูดซื้อสินค้า แต่เมื่อสอบถามก็ได้รับคำตอบที่เป็น Pattern ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาเลย ซึ่งส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้า เป็นต้น
  6. ความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับข้อมูลความลับเชิงธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของต้นทุนต่อหน่วย วิธีการทำงาน รูปแบบการทำงาน หรือการทำการตลาด เป็นต้น ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใช้บริการ Outsource ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางการตลาดและลูกค้า ต่อมา Outsource ก็ได้ Sub งานต่อให้กับบริษัทอีกแห่งหนึ่ง ทำให้ข้อมูลรั่วไหลไปยังลูกค้าและคู่แข่งขัน
  7. ความเสี่ยงเกี่ยวกับการส่งมอบในเรื่องคุณภาพของงานไม่ตรงตามสเป็คที่กำหนดไว้ เช่น โบรชัวร์ แผ่นพับ มีการออกแบบไม่ได้มาตรฐานคือไม่ได้ออกแบบเผื่อตัดตกแต่งเล่ม สีไม่สม่ำเสมอ รูปภาพคุณภาพต่ำเกินไป หรือส่งมอบงานล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งทางบริษัทต้องรับงานนั้นไปทำต่อก่อนที่จะส่งมอบแก่ลูกค้า
  8. ความเสี่ยงในเรื่องกฎระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบของทางผู้ว่าจ้างหรือผู้รับจ้างล้วนแต่เป็นความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น เช่น Outsource วางกฎระเบียบว่าจ้างให้ทำงานจะต้องมัดจำสัดส่วนคือ 50 : 30 : 20 หากงานเกิดปัญหาจะเกิดความยุ่งยากในการตัดสินใจจะจ้างต่อหรือเลิกจ้าง เป็นต้น
  9. ความเสี่ยงในเรื่องของคน ปัญหาเรื่องคนของ Outsource ถือว่าเป็นปัญหาอมตะนิรันดร์กาล เพราะ Turn over ของคนทำงานจะสูงมาก เมื่อมีการเปลี่ยนตัวบุคคลก็ใช่ว่าจะสามารถทดแทนความสามารถของคนเดิมได้ จึงทำให้ผลงานที่ออกมาต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ หรือไม่เป็นไปตามรูปลักษณ์ที่ต้องการ
    ปัญหาการนำ Outsourcing มาใช้ไม่สำเร็จ มักเกิดจากปัญหาหลายประการ อาทิ
  10. ผู้บริหารและทีมงานขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกสรรและคัดสรร มักใช้ความรู้สึก ความเคยชิน ความชอบพอกันเป็นการส่วนตัว ซึ่งมักจะเป็นพนักงานฟรีแลนซ์มากกว่าการใช้บริษัท วิธีแก้ไขโดยทำตามหลักในการพิจารณาเลือก Outsource จะมองความน่าเชื่อถือหรือเรียกร้องค่าเสียหายได้
  11. ขาดความเข้าใจ Outsource ในฐานะ Business Partnership มักคิดว่า Outsource เก่งกว่า เกรงใจ ไม่กล้าบอก ไม่กล้าใช้ หรือสั่งการ วิธีแก้ไขคือ ควรเปลี่ยนวิธีคิดว่า Outsource คือผู้รู้เหนือกว่าเรา แต่เขาคือพันธมิตรทางธุรกิจที่จะต้องจับมือไว้แล้วเดินงานไปพร้อมๆ กัน ในลักษณะ win-win
  12. พนักงานมีการต่อต้าน คิดว่ามีคนมาแย่งงานทำ ตนเองหมดความสำคัญลง หรือเสียผลประโยชน์ส่วนตัว จากเดิมเคยมีลูกน้อง เมื่อเปลี่ยนแปลงใช้ Outsource ก็ไม่กล้าจะใช้หรือไม่ให้ความร่วมมือ วิธีแก้ไขคือ เปลี่ยนวิธีคิดจากคนทำงานมาเป็นคนควบคุมดูแลงาน หรือสั่งงานให้ทำแล้วควบคุม
  13. ทีมปฏิบัติขาดความรู้ ความชำนาญและรูปแบบการทำงาน โดยต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ใส่ความคิดของตนเองเข้าไปเต็มที่ บางครั้งพนักงานบริษัทไม่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ เมื่อ Outsource เสนอความคิดเห็นหรือแนวทางการทำงาน ถึงแม้จะไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องจำใจรับหลักการทำงานนั้น วิธีแก้ไขคือ ปรับวิธีการทำงานให้เป็นทีมงานให้เพิ่มมากขึ้นในการส่งช่วงงานต่อกัน
  14. ขาดการเตรียมการ วางแผนเร่งรีบ และไม่สมบูรณ์ ไม่เคยมีการคิดวางแผนงาน เมื่อได้ Order จากลูกค้าก็นำมาฉีกแบ่งโยนงานให้ Outsource รับงานไปทำ วิธีแก้ไขก็คือ ควรมีการประชุมวางแผนระดมความคิดเห็นจากหลายๆ ฝ่าย เพื่อเปิดมุมมองในการทำงาน
  15. ขาดการจัดการโครงการที่ดี ปัญหาข้อนี้บางบริษัทใช้วิธีให้ความรับผิดชอบกับคนละชิ้นงาน หรือเรียกว่า 1 โครงการ 1 คนทำ ดังนั้น การจะให้คนๆ หนึ่งรู้เรื่องทุกอย่างย่อมเป็นไปไม่ได้ วิธีแก้ไขก็คือ จะต้องสอบถามผู้รู้และศึกษาค้นคว้าประกอบการแก้ไขปัญหาพร้อมจัดทำเป็นตารางกิจกรรมเช็คงานแต่ละช่วงเวลา

Tag : สรรหาคน สรรหาพนักงาน หาคนทำงาน หาคน ทรัพยากรบุคคล หาแรงงาน ให้คำปรึกษาทรัพยากรบุคคล HRConsultant HRConsult HR HROutsource Training TrainingOutsource Talentmanagement เทรนนิ่งพนักงาน #คอร์สอบรม หลักสูตรฝึกอบรม ฝึกอบรมกลุ่มใหญ่ บริการเอาท์ซอร์ส รับทำเงินเดือน ประมวลเงินเดือน หาพนักงานประจำ หาพนักงานชั่วคราว พาร์ทไทม์ หาคนช่วยงาน หากำลังเสริม จัดหาบุคลากร จัดหาคน บริษัทจัดหาคน บริษัทจัดหาพนักงาน #หาบุคลากร  กลยุทธ์ทรัพยากรบุคคล การตลาดออนไลน์ Surveymarket ขายออนไลน์มืออาชีพ ฝึกอบรม ฝึกอบรมผู้บริหาร หลักสูตรการขาย นักขายมือโปร GenZManpower GenZ หาคนทำงานแบบการันตี ต้องการพนักงานจำนวนมาก บริการงานOutsource จัดหาคนสำหรับองค์กร #ระบบจ้างคนคุณภาพ Recruitment สรรหาคนเก่ง HRLegal บริการทรัพยากร ช่วยหางาน ช่วยหาคนทำงาน จัดจ้างพนักงาน หาพนักงานที่ใช่ หาคนเก่งถึกทน หาคนทำงานได้ที่ไหน พนักงานคุณภาพ Headhunting RecriutmentAgency Headhunters Headhunter Headhunterในไทย บริษัทHeadhunter รายชื่อบริษัทจัดหางาน

Share This Post

Share on facebook
Share on twitter
Share on whatsapp
Share on google
Share on email

More
articles